อาหาร กับ ผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง

 

อาหารสำหรับโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง  

ผศ.พญ.รพีพร โรจน์แสงเรือง  

คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี  

 

โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง คือโรคที่มีหลอดลมตีบซึ่งไม่สามารถรักษาให้หายกลับเป็นปกติได้   

โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง แบ่งเป็น 2 ชนิด ได้แก่ หลอดลมอักเสบเรื้อรัง   และถุงลมปอดโป่งพอง   

การรักษาโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังจะมุ่งเน้นให้หยุดสูบบุหรี่และรักษาตามอาการ เพื่อเพิ่มคุณภาพให้ดำรงชีวิตในสังคมได้ดี  

การรักษาน้ำหนักตัวของผู้ป่วยให้คงที่นับเป็นปัจจัยสาคัญของการรักษาโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง 

เมื่อมีอาการหอบเหนื่อยนั้น ผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ต้องการเพิ่มการใช้พลังงานในขณะพักขึ้นไปอีก 10-15% แต่ถ้าผู้ป่วยไม่ชดเชยพลังงานทดแทนให้เพียงพอโดยการกินอาหารเพิ่มขึ้นก็จะทำให้น้ำหนักตัวลด  

 

าหารที่เหมาะแก่ผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง  

ผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง  ควรกินอาหารเพื่อ  

  • ให้มีน้ำหนักตัวคงที่  
  • ให้กล้ามเนื้อหายใจทำงานได้ดี  
  • เสริมภูมิคุ้มกันเพื่อต่อต้านกับเชื้อโรค  

 

การให้อาหารได้เหมาะสมจะช่วยลดระดับคาร์บอนไดออกไซด์ในเลือดและการหายใจดีขึ้น ซึ่งคาร์โบไฮเดรต ไขมัน และโปรตีน จะถูกเผาผลาญเพื่อให้เกิดพลังงาน พร้อมทั้งได้เป็นคาร์บอนไดออกไซด์และน้ำออกมา  การกินคาร์โบไฮเดรตจะผลิตคาร์บอนไดออกไซด์ออกมามากที่สุด และการกินไขมันจะผลิตคาร์บอนไดออกไซด์ออกมาน้อยที่สุด  

การกินอาหารที่มีไขมันสูงและคาร์โบไฮเดรตต่ำจะลดการผลิตคาร์บอนไดออกไซด์ในผู้ป่วย  

ผู้ป่วยที่มักหอบเหนื่อยหรือมีระดับคาร์บอนไดออกไซด์ในเลือดสูงภายหลังจากกินอาหารที่มีสัดส่วนของคาร์โบไฮเดรตสูงก็ควรเปลี่ยนมากินอาหารที่มีสัดส่วนของไขมันสูงแทน อาหารที่มีไขมันสูง (ปริมาณไขมัน 55% ของสารอาหารทั้งหมด) จะมีประโยชน์กับผู้ป่วยมากกว่าอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตสูง (ปริมาณาร์โบไฮเดรต 55% ของสารอาหารทั้งหมด) เพราะจะลดการผลิตคาร์บอนไดออกไซด์และลดการใช้ออกซิเจนมาย่อยสลาย ซึ่งจะทำให้การหายใจดีขึ้น  

ในกรณีผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง มีอาการคงที่ก็อาจไม่ต้องกินอาหารที่มีไขมันสูงและคาร์โบไฮเดรตต่ำ เพราะในบางรายก็ทนต่อผลข้างเคียงจากการกินอาหารที่มีไขมันสูงไม่ได้ จนอาจมีอาการท้องอืดหรือท้องเสียเกิดขึ้นได้  นอกจากนี้ผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังบางรายอาจมีโรคหัวใจร่วมด้วย ซึ่งการกินอาหารที่มีปริมาณไขมันสูงย่อมไม่ดีต่อสุขภาพ  

สมาคมโภชนาการในอเมริกาแนะนำว่าให้กินอาหารเพื่อชดเชยพลังงานที่ใช้ไป แต่ไม่ใช่ให้กินอาหารปริมาณมากเกินไปเพราะปริมาณอาหารที่มากเกินไปจะทำให้ผลิตคาร์บอนไดออกไซด์ออกมามากกว่าการกินอาหารที่มีสัดส่วนคาร์โบไฮเดรตมากเสียอีก ซึ่งทำให้ผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังต้องหายใจหอบมากขึ้นเพื่อขับคาร์บอนไดออกไซด์ออกไปจากร่างกาย  

การกินอาหารโปรตีนเพื่อป้องกันการเกิดกล้ามเนื้อลีบเล็ก กล้ามเนื้ออ่อนแรง และการหายใจดีขึ้น โดยทั่วไปแนะนำให้กินโปรตีน 1.2-1.7 ก./กก./วัน หรือประมาณ 20% ของสารอาหารที่ให้พลังงานทั้งหมด  

นอกจากนี้ควรดื่มน้า 2-3 ลิตร/วัน เพื่อให้เสมหะไอออกได้ง่ายและปากไม่แห้ง  

อาหารช่วยลดภาวะแทรกซ้อนของโรค เพราะให้ทั้งพลังงานและช่วยสร้างภูมิคุ้มกันแก่ร่างกาย ดังนั้นจึงควรกินอาหารที่ให้พลังงานมากขึ้นเพื่อต้องการเพิ่มพลังงานในการหายใจมากขึ้น  

การเผาผลาญคาร์โบไฮเดรตที่กินเข้าไปทำให้ผลิตคาร์บอนไดออกไซด์ออกมามาก ซึ่งทำให้ปอดต้องทำงานมากขึ้นในการขับออก ดังนั้นแนะนำให้กินอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตต่ำและไขมันสูง โดยมีปริมาณโปรตีนที่เพียงพอ  

 

อาหารที่แนะนำในผู้ป่วยปอดอุดกั้นเรื้อรัง  

  • เลือกอาหารอ่อน กินง่าย โดยไม่ต้องเคี้ยวมาก เช่น ซุป ไข่เจียว พาสต้า พายปลา โยเกิร์ต  
  • ดื่มสารน้ำที่มีพลังงาน เช่น นมหรือช็อกโกแลต  
  • เพิ่มสารอาหารโปรตีน  
  • เพิ่มอาหารที่ให้พลังงาน เช่น ครีม เนย มาการีน น้าตาล แยม น้าผึ้ง น้าเชื่อม  

 

แนะให้เสริมอาหารและออกกาลังกายร่วมด้วย การออกกำลังกายทำให้ออกแรงได้นานขึ้น หอบเหนื่อยน้อยลง การทำงานของหัวใจดีขึ้น และกล้ามเนื้อหายใจทำงานดีขึ้น สาหรับการออกกำลังกายที่ดีจะทำให้ร่างกายใช้พลังงานน้อยลง และมีระดับการใช้พลังงานในขณะพักที่ปกติด้วย  

 

สารต้านอนุมูลอิสระ (Antioxidant) วิตามินและเกลือแร่  

การเกิดอนุมูลอิสระในปอด ได้แก่ จากการสูบบุหรี่ สูดดมมลพิษก็จะกระตุ้นให้เกิดเอนไซม์ออกมาทำลายปอดมากขึ้น จึงทำให้ปอดถูกทำลายได้ง่าย  ระบบต่อต้านอนุมูลอิสระต้องใช้สารอาหารบางอย่างมาช่วยเสริม เช่น สารทองแดง ซีรีเนียม ธาตุเหล็ก วิตามินซีและอี  

การสูบบุหรี่จะเกิดการผลิตสารอนุมูลอิสระ  ออกมาทำให้เกิดการอักเสบและหลอดลมตีบ สารต้านอนุมูลอิสระจะช่วยลดการอักเสบที่เกิดจากสารอนุมูลอิสระได้  

ผู้ที่สูบบุหรี่มากจะมีระดับวิตามินซีในเลือดต่ำ   การกินวิตามินซีเพิ่มขึ้นจะทำให้ปอดทำงานดีขึ้น  

ผู้ที่สูบบุหรี่บ่อยหรือมีอาการหอบกำเริบบ่อยมักมีระดับสารต้านอนุมูลอิสระในเลือดต่ำ เช่น วิตามินซีวิตามินอี เบต้าแคโรทีน ซีรีเนียม สาหรับการเสียสมดุลระหว่างสารอนุมูลอิสระและการต่อต้านสารอนุมูลอิสระจะทำให้เกิดการอักเสบในปอดและอาการหอบแย่ลงตามไปด้วย  

การได้รับสารต้านอนุมูลอิสระจะทาให้การดำเนินของโรคช้าลง ปอดทำงานดีขึ้น และอาการหอบกำเริบน้อยลง ดังนั้นจึงแนะนำให้กินผักและผลไม้เพิ่มขึ้นเพื่อเพิ่มสารต้านอนุมูลอิสระในผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง  ปลาแซลมอน แมคเคอเรล ซาร์ดีน เฮอร์ริ่ง และทูน่ามีน้ามันโอเมก้า-3 มาก ซึ่งดีต่อหัวใจ และช่วยลดการอักเสบในผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง   

นอกจากนี้ผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง  ยังเสี่ยงต่อการเกิดกระดูกพรุนเพราะสูบบุหรี่ ระดับวิตามินดีต่ำ body mass index (BMI) ต่ำ มวลกล้ามเนื้อต่ำ และมีการใช้ยาสเตียรอยด์ แพทย์จึงควรแนะนำให้ผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง  กินนม เนย และโยเกิร์ต เพื่อเพิ่มปริมาณแคลเซียมให้ร่างกาย  

ผู้ป่วยที่ได้รับยาสเตียรอยด์ชนิดสูดออกฤทธิ์ยาว หรือกินสเตียรอยด์ ควรกินแคลเซียมหรือวิตามินดีทดแทน ซึ่งสมาคมโภชนาการในอเมริกาในปี ค.ศ. 2008 รายงานว่าโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง  ควรกินแคลเซียม 1,200 มิลลิกรัม/วัน และ วิตามินดี 1,000 อินเตอร์ยูนิต/วัน เพื่อป้องกันกระดูกบาง  

 

วิธีกินอาหารที่ช่วยให้การหายใจดีขึ้น  

  • กินอาหารที่ให้พลังงานสูงในตอนเช้า  
  • ควรกิน 6 มื้อเล็ก ๆ/วัน แทนการกิน 3 มื้อใหญ่/วัน เพื่อไม่ให้เหนื่อยง่ายขณะกินอาหาร รวมทั้งควรให้เสิร์ฟอาหารหวานหลังกินอาหารหลักไปแล้ว 30-60 นาที  
  • เคี้ยวช้า ๆ เพื่อให้ละเอียดจะได้ไม่กลืนอากาศเข้าไปมากในขณะกลืน  
  • เลือกกินอาหารที่เคี้ยวง่าย  
  • จำกัดเกลือเพราะเกลือทำให้ร่างกายบวมน้ำและหายใจเหนื่อยขึ้น  
  • กินอาหารที่มีแคลเซียมและวิตามินดีเพื่อเสริมกระดูก  
  • เลี่ยงอาหารที่ผลิตแก๊สมาก เพราะจะทำให้ท้องตึงจนหายใจลำบาก เช่น บรอคโคลี่ กะหล่ำปลี ถั่ว ข้าวโพด แตงกวา แตงโม หัวหอม แอปเปิ้ลดิบ อาหารทอด น้ำอัดลม 

 

  • กินในท่านั่งเพื่อให้ปอดทำงานได้ดี  
  • ดื่มน้ำหลังกินอาหารเสร็จ โดยไม่ควรดื่มน้ำบ่อยระหว่างกินอาหารเพราะจะอิ่มเร็ว นอกจากนี้ควรดื่มน้ำมาก ๆ เพื่อให้เสมหะไอออกง่าย และป้องกันภาวะขาดน้ำ  
  • ดมออกซิเจนในขณะกินอาหาร เพราะการกินและย่อยอาหารล้วนต้องใช้ออกซิเจนทั้งสิ้น  
  • จำกัดการกินอาหารที่มีคาเฟอีน เพราะคาเฟอีนรบกวนการดูดซึมยาบางอย่าง และทำให้ใจสั่น  
  • พักผ่อนหลังกินอาหารเสร็จ  

 

การแก้ปัญหาภาวะน้หนักลด  

น้ำหนักลดทำให้พยากรณ์โรคไม่ดี เมื่อ body mass index (BMI) ลดลง > 21% จากน้ำหนักของคนปกติ  

)ผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังที่มีน้ำหนักลดลงมักเสียชีวิตได้ง่ายกว่าผู้ป่วยที่มีน้ำหนักตัวคงที่  

เมื่อผู้ป่วยน้ำหนักลดจะทำให้  

  • ง่ายต่อการติดเชื้อ  
  • อ่อนแรงและเหนื่อยง่าย  
  • กล้ามเนื้อหายใจอ่อนแรง  

 

ถ้าต้องการพลังงานเพิ่มหรือเพิ่มน้ำหนักควรกิน  

  • อาหารโปรตีนที่มีพลังงานสูง  
  • อาหารเส้นใยสูง  
  • อาหารที่มีเกลือแร่และวิตามิน  
  • อาหารเสริม  

 

การแก้ปัญหาภาวะน้หนักเพิ่ม  

ภาวะอ้วน คือ BMI เพิ่มขึ้น 20% จากค่าปกติ โดยจะทำให้ปอดต้องเพิ่มการหายใจมากขึ้นไปด้วย  

เมื่อผู้ป่วยอ้วนจะก่อให้เกิด  

  • หัวใจและปอดทำงานมากขึ้น  
  • ร่างกายต้องการออกซิเจนมากขึ้น  
  • การหายใจลำบากขึ้น เพราะน้ำหนักที่เพิ่มรอบอกและท้อง ยิ่งอ้วนก็ทาให้ทรวงอกขยายตัวได้ยากและกะบังลมทำงานได้ไม่ดี นอกจากนี้ยังพบมีภาวะหยุดหายใจขณะหลับมากขึ้นในคนอ้วน  

ดังนั้นควรแนะนำให้ผู้ป่วยพยายามกินมื้อละน้อยและถี่ขึ้น เพื่อไม่ให้กะเพาะอาหารโป่งตึงจนกดการทำงานของกะบังลมก็ทำให้ไม่เหนื่อยมากนัก อาหารมื้อละน้อย ๆ ก็ไม่ทำให้เกิดการสูดสำลัก รวมทั้งใช้พลังงานในการเคี้ยวและย่อยน้อยลง รวมทั้งควรคุมน้ำหนักตัวร่วมกับการออกกำลังกาย  

นอกจากนี้ควรกินอาหารที่มีเส้นใยมากเช่น ผัก ถั่ว เมล็ดธัญพืช ข้าว ผลไม้ เส้นใยในอาหารทำให้ระบบย่อยทำงานดีขึ้น ช่วยลดระดับน้ำตาลและไขมันคอเลสเตอรอลในเลือด ควรกินเส้นใย 20-35 กรัม/วัน เพื่อให้ลำไส้ทำงานดีขึ้น  รวมทั้งแนะนำให้คนอ้วนที่มี BMI > 30 กก./มม.2  ควรลดน้ำหนักลงด้วย  

 

แนะนหรับการมีน้หนักตัวเพิ่ม  

  • กินครบ 3 มื้อ และลดอาหารว่าง  
  • กินผักและผลไม้  
  • ลดอาหารไขมันและน้ำตาล  
  • ออกกำลังกาย  
  • พยายามไม่ให้มีน้ำหนักเพิ่มหรือลดลง 0.5 กก./สัปดาห์  

 

สรุป  

ในขณะที่อาการของโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง  แย่ลงไปตามกาลเวลาก็ทำให้ร่างกายเสี่ยงต่อการเกิดภาวะทุพโภชนาการเพิ่มขึ้น ดังนั้นจึงควรประเมินภาวะโภชนาการของผู้ป่วยเป็นระยะ ๆ เพื่อให้การรักษาด้วยอาหารได้เหมาะสมอันจะทำให้เพิ่มคุณภาพชีวิตและพยากรณ์ของโรคดีขึ้น 

 

ดัดแปลงจาก  อาหารสำหรับโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (Nutritional Management in COPD ) ผศ.พญ.รพีพร โรจน์แสงเรือง  คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี http://www.wongkarnpat.com/upfilepat/%E0%B9%80%E0%B8%89%E0%B8%9E%E0%B8%B2%E0%B8%B0%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%84%20400.pdf (accessed 1 Aug 2018)